คลังเรื่องราวของคุณ อ่านเพิ่มเติม คลัง คืออะไร? ในเฟสบุ๊ค
หมวดหมู่: ห้องคอมพิวเตอร์
ห้องคอมพิวเตอร์ ทรงอาจดอททูเดย์ เรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไอที
หน้าที่ของอุปกรณ์สื่อสาร
อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน อ่านเพิ่มเติม หน้าที่ของอุปกรณ์สื่อสาร
บล็อกเพื่อการศึกษา
edublogs.org บล็อกเพื่อการศึกษา อ่านเพิ่มเติม บล็อกเพื่อการศึกษา
ภาพเคลื่อนไหวที่ 2 PowerPoint 2010
ภาพเคลื่อนไหวที่ 2 Power Point 2010
คำสั่ง ภาพเคลื่อนไหว ใน PowerPoint เป็นคำสั่งที่มีรายละเอียดค่อยข้างเยอะคำสั่งหนึ่ง ถ้าทำความเข้าใจให้ดีก็ย่อมจะได้ผลงานที่ดีตามมาด้วย เพราะถือว่าทำงานด้วยความเข้าใจในคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับงานจริงๆ
ทรงอาจดอททูเดย์ ขอนำเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ มาฝาก เกี่ยวกับการใช้งานคำสั่ง ภาพเคลื่อนไหว ในโปรแกรม PowerPoint 2010

รูปที่ 1 รูปนี้ใส่ ภาพเคลื่อนไหว ไปหนึ่งรายการ คือ ลอยเข้า ให้เริ่มภาพเคลื่อนไหว หลังก่อนหน้านี้ ความหมายคือ ถ้ามีลำดับของวัตถุที่ใส่ภาพเคลื่อนไหวอยู่ก่อนหน้า ซึ่งเมื่อเคลื่อนไหวสิ้นสุดแล้ว ก็ให้เคลื่อนไหวต่อเลย ด้วยระยะเวลาของการเคลื่อนไหว รวมแล้ว 01.25 ความหมายของตัวเลขนี้คือ 1 วินาทีนิดๆ
ในหนึ่งวัตถุหรือหนึ่งชิ้นงานนั้นสามารถใส่ภาพเคลื่อนไหวได้หลายอย่าง จากรูปที่ 1 เมื่อรูปลอยเข้ามาแล้ว ถ้าต้องการให้ แกว่งไปมา ก็ต้องใสอีกภาพเคลื่อนไหวหนึ่ง ซึ่งถือเป็นภาพเคลื่อนไหวที่สองในวัตถุเดียว ตรงที่จะใส่ ภาพเคลื่อนไหว ที่ 2 ขึ้นไป นี่แหละ หลายคนจะงง เพราะจะไปเลือกรายการภาพเคลื่อนไหวเหมือนใส่ครั้งแรกไม่ได้ ถ้าไปเลือกจากที่เดิมภาพเคลื่อนไหวที่ 1 จะถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ
วิธีใส่ภาพเคลื่อนไหวที่ 2 ขึ้นไป ทำแบบนี้ ขณะเลือกวัตถุที่ใส่ภาพเคลื่อนไหวที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ให้ไปคลิ๊กที่คำสั่ง เพิ่มภาพเคลื่อนไหว แล้วค่อยเลือกรายการ ภาพเคลื่อนไหว ที่ต้องการ ต้องเพิ่มจากตรงนี้นั่นเองถึงจะใส่ภาพเคลื่อนไหวต่อจาก ภาพเคลื่อนไหว ที่ 1 ได้

รูปที่ 2 แสดงให้เห็นว่ามี 2 ภาพเคลื่อนไหว คือ ลอยเข้า แล้ว แกว่งไปมา
ถ้าจะใส่อีกสักภาพเคลื่อนไหวก็สามารถทำได้ โดยต้องไปเพิ่มตรงคำสั่ง เพิ่มภาพเคลื่อนไหว เหมือนเดิม

รูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่า ใส่เพิ่มเข้าไปอีก 1 ภาพเคลื่อนไหว เท่ากับ รูปนี้ มี 3 ภาพเคลื่อนไหว คือ ลอยเข้า แกร่งไปมา แล้ว เด้ง หายไป
อย่าลืม! ใส่การเริ่มของแต่ละภาพเคลื่อนไหวให้เป็น หลังก่อนหน้านี้ ด้วย จะได้แสดงภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องเลย ไม่ต้องรอ action ใดๆ
สรุปคือ จะใส่ภาพ เคลื่อนไหว ที่ 2 เป็นต้นไปนั้น ต้องเลือกที่ใส่ให้แตกต่างจากการใส่ครั้งที่ 1 ถึงจะใส่ได้ เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ของโปรแกรม PowerPoint 2010 ที่น่าสนใจ หวังว่าคงเป็นประโยชน์
ฟังก์ชันการนับจำนวน
จดหมายเวียน
เว็บเบราว์เซอร์และเวิลด์ไวด์เว็บ
เว็บเบราว์เซอร์ อ่านเพิ่มเติม เว็บเบราว์เซอร์และเวิลด์ไวด์เว็บ
ทำแผ่นพับง่ายๆ ด้วย Word
ทำแผ่นพับ word อ่านเพิ่มเติม ทำแผ่นพับง่ายๆ ด้วย Word
บันทึกธรรมดากับบันทึกเป็น
บันทึกธรรมดากับบันทึกเป็น รู้ไว้ไม่งง
เรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควร งง! แต่ก็เห็นอยู่เป็นประจำที่ งง! พอบอกให้บันทึกงาน มีบ่อยๆ ที่ได้ยินเสียงตอบกลับมาเป็นคำถามว่า “บันทึกธรรมดาหรือบันทึกเป็น?”
เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่อยากอธิบาย แต่ถ้าไม่เข้าใจเรื่องเล็กน้อยเช่นนี้ ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนสำหรับวิชาคอมพิวเตอร์ต่อไปในภายภาคหน้า ใครที่เข้าใจแล้วก็ผ่านไป ส่วนใครที่ยังไม่แจ่มแจ้ง อ่าน! อ่านหลายๆ รอบ
บันทึกธรรมดากับบันทึกเป็น
โปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป อย่างเช่น โปรแกรมในกลุ่มของ Microsoft Office จะมีสองคำสั่งนี้ คือ บันทึก (Save) และ บันทึกเป็น (Save as) ครั้งแรกที่เปิดโปรแกรมขึ้นมาทำงานนั้น พอทำงานเสร็จ ให้ใช้ บันทึก ธรรมดา ไม่จำเป็นต้องใช้ บันทึกเป็น เพราะถึงแม้ใช้ บันทึก ธรรมดา มันก็เหมือนกับใช้ บันทึกเป็น อยู่แล้ว สังเกตว่า โปรแกรมจะให้ตั้งชื่อไฟล์ ให้กำหนดที่อยู่ของไฟล์ ขณะไฟล์งานเปิดอยู่ยังไม่ได้ปิดไป แล้วเราทำงานไปเรื่อยๆ ก็ยังคงใช้ บันทึก ธรรมดา อย่าไปยุ่งกับ บันทึกเป็น
ไฟล์งานเก่าที่มีอยู่แล้ว เมื่อเปิดขึ้นมาทำงาน เพื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไป พอใส่ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังคงใช้ บันทึก ธรรมดา อย่าไปยุ่งกับ บันทึก เป็น เพราะมันไม่จำเป็น เว้นแต่กรณีถัดไป ข้างล่าง
บันทึกเป็น ใช้ในกรณีที่ เปิดไฟล์งานเก่าขึ้นมาทำงาน แล้วต้องการให้มีชื่อไฟล์ที่แตกต่างจากไฟล์เดิม แบบนี้ให้ใช้ บันทึกเป็น และใช้ในกรณี ยังต้องการให้เป็นชื่อเดิมอยู่ แต่ต้องการให้ไปอยู่ในที่อยู่ใหม่ ก็ใช้ บันทึกเป็น ได้ เพราะถ้าใช้ บันทึกเป็น โปรแกรมจะให้กำหนดชื่อและที่อยู่ไฟล์ใหม่ได้
จับภาพสวยด้วย FIREFOX
การจับภาพหน้าจอ ด้วย Firefox เว็บเบราวน์เซอร์ อ่านเพิ่มเติม จับภาพสวยด้วย FIREFOX