ไหนเฮียบอกไม่ชอบเด็กep4

ดูละครย้อนหลัง ไหนเฮียบอกไม่ชอบเด็กep4 ช่อง9

ไหนเฮียบอกไม่ชอบเด็กep4

รักของเรา จะเป็นไปได้ไหม? จากนิยายดังกว่า 2.9 ล้าน Views ใน ReadAWrite เจ้าของนามปากกา 'นางสาวผอบ' สู่ซีรีส์ในจอกับเรื่อง "ไหนเฮียบอกไม่ชอบเด็ก" แล้วไปลุ้นกันต่อในซีรีส์เต็ม ไหนเฮียบอกไม่ชอบเด็ก (Mystubborn, 心口不一) ได้ทุกวันอาทิตย์ เวลา 23:00 น. เริ่มตอนแรก 20 เมษายนนี้ ทางช่อง 9 MCOT HD

นำแสดงโดย "โบ๊ท ยงค์ยุทธ" รับบท "เฮียศร" เป็นคนห้าวๆ แข็งๆ พูดจาโผงผาง ปากไม่ดี แต่มีเส้นขอบเขตของตัวเอง พยายามบังคับตัวเองว่าคิดกับจวิ้นแค่น้องชายของเพื่อนสนิท "โอ๊ต ภาสกร" รับบท "จวิ้น" มองโลกในแง่ดี สดใส สร้างพลังบวกให้คนรอบข้าง ติดขี้งอนนิดๆ เป็นคนคิดเยอะ คิดซับซ้อน สร้างมิตรเก่ง ยิ้มแล้วโลกสดใส "ยุ่น ภูษณุ" รับบท "เฮียไท" ลูกชายเจ้าของบริษัทมาดเท่ห์ สุขุม เทคแคร์เก่ง รักเพื่อน โดยเฉพาะเพื่อนสนิท แม้เพื่อนจะไม่ค่อยรู้ตัวก็ไม่เป็นไร ยังไงก็จะอยู่ข้างๆ เสมอ "ปันปัน ปัณณ์" รับบท "เฮียแชมป์" หนุ่มใจดี ร่าเริง รักเพื่อน สายซัพพอร์ตเพื่อน เป็นตัวกลางเวลาเพื่อนมีปัญหากัน แต่เวลาเพื่อนสนิทมีปัญหากับตัวเองเนี่ย ใจแทบไม่เป็นกลางแล้ว

เกี่ยวกับ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี (อังกฤษ: MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) หรือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (อังกฤษ: 9 MCOT HD) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2492 สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เขียนบทความขึ้นบทหนึ่ง เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ "วิทยุภาพ" อันเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใหม่ของโลก ต่อมา กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ส่งข้าราชการของกรมฯ กลุ่มหนึ่ง ไปศึกษางานวิทยุโทรภาพที่สหราชอาณาจักร ในราวปี พ.ศ. 2493 เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ กรมประชาสัมพันธ์จึงนำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรส่วนมาก แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองต่องบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ จึงจำเป็นต้องยุติโครงการดังกล่าวลง

หลังจากนั้น ประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการบริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งวิทยุโทรภาพ 1 เครื่อง พร้อมเครื่องรับจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งมีน้ำหนักรวมกว่า 2,000 กิโลกรัม มาทำการทดลองส่งแพร่ภาพในทำเนียบรัฐบาล ให้คณะรัฐมนตรีได้รับชม นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และยังเปิดฉายให้ประชาชนทั่วไป ทดลองรับชมที่ศาลาเฉลิมกรุงด้วย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495

ยุติออกอากาศในระบบอนาล็อก

ภาพที่แสดงหลังยุติการแพร่ภาพระบบอนาล็อก(PAL 576i 16:9) ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:30 น. ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ 13 สถานี เป็นลำดับแรก โดยมีผลกระทบต่อผู้ชมในพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน (รวมไปถึงที่อำเภอแม่สะเรียง) จังหวัดน่าน จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง (รวมไปถึงอำเภอตะกั่วป่า) จังหวัดสตูล และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 18:30 น. ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ได้ทำการยุติการแพร่ภาพในระบบอนาล็อกครบทุกพื้นที่ในประเทศ โดยยุติการแพร่ภาพจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ที่เหลืออีก 23 สถานี ซึ่งรวมไปถึงสถานีในกรุงเทพมหานครซึ่งยุติการออกอากาศเป็นลำดับสุดท้าย เนื่องจากโครงข่ายการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลของบมจ.อสมท ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว และเหลือแต่เพียงแค่การออกอากาศในระบบดิจิทัล ทางช่องหมายเลข 30 (ภาพความคมชัดสูง) แต่เพียงอย่างเดียว