บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ

เรื่องราวของบาปกรรมที่พระโพธิสัตว์ได้เฉลยเอาไว้ ซึ่งมีสาระตรงตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ

ภาระหน้าที่และโชคชะตาจะแตกต่างกันไปตามแต่ระดับชั้นของยูคอนเอง ถ้ายูคอนอยู่ในระดับสูงขึ้นเพียงใด โครงการของพระจะยิ่งใหญ่และสูงส่งมากขึ้นเพียงนั้น ทั้งยังจะทำให้มีความสุขอีกด้วย แต่ถ้ายูคอนยิ่งตกต่ำมากเท่าใดก็จะตรงกันข้ามคือจะยิ่งมีความสุขน้อยลงเท่านั้น ส่วนประเภทที่ตกอยู่ในชั้นต่ำสุดจะหาความสุขไม่ได้เลย

ทั้งนี้เพราะชั้นสูงในโลกวิญญานเปรียบได้กับดินแดนสวรรค์จะไม่มีการเเจ็บป่วย ไม่มีการแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกันมีแต่ความรื่นรมย์อุดมสมบูรณ์ด้วยวัตถุนานาชนิด การที่จะให้มนุษย์เรากลายเป็นผู้ที่มีความสุขอย่างแท้จริงนั้น ก่อนอื่นจำเป็นต้องยกระดับยูคอนซึ่งอยู่ในโลกวิญญานให้สูงขึ้นเสียก่อน ซึ่งมีอยู่วิธีเดียวคือต้องชำระกายทิพย์ให้บริสุทธิ์ แต่เดิมทีเดียว การที่กายทิพย์ของเราจะเลื่อนขึ้นสู่เบื้องสูงหรือตกลงสู่เบื้องต่ำนั้น ขึ้นอยู่ปริมาณความมากน้อยของความขุ่นมัว กล่าวคือจิตที่บริสุทธิ์จะเบาและลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน ส่วนจิตที่มีเมฆหมอกความขุ่นมัวมากจะหนักและตกลงสู่เบื้องต่ำ เพราะฉะนั้นการที่จะให้เป็นผู้ที่มีจิตบริสุทธ์ได้นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติแต่คุณงามความดีและพยายามสร้างสมกุศลให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป

บาปเกิดจากความจงใจ คือเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ หลังจากการเรียนจบศิลปวิทยาแล้ว ได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่า วันหนึ่งพระฤาษีได้สัญจรไปที่หมู่บ้านหนึ่ง คนในหมู่บ้านนั้นได้สร้างอาศรมถวายจึงได้อาศัยอยู่ที่นั้นเรื่อยมา มีนายพรานนกคนหนึ่งในหมู่บ้านนั้น เลี้ยงนกกระทาไว้ตัวหนึ่งเพื่อไว้เป็นนกต่อ วันหนึ่งนกกระทาคิดว่า “นายพรานอาศัยเสียงของเรา ร้องเรียกเพื่อนนกทั้งหลายให้นายพรานจับตัวได้ และตายเป็นจำนวนมาก เป็นบาปกรรมของเราหนอ ต่อไปนี้เราจะไม่ส่งเสียงร้องแล้ว” นายพรานเมื่อเห็นนกกระทาที่เลี้ยงไว้ไม่ร้องเรียกนกอื่นมา ก็ใช้ไม้ตีหัว นกกระทากลัวตายจึงร้อง สร้างความทุกข์ลำบากให้แก่มันเป็นอย่างมาก

อยู่ต่อมาวันหนึ่ง นายพรานก็ใช้นกกระทาเป็นนกต่อร้องเรียกเพื่อนนกให้เข้ามาติดในกรง นายพรานจึงได้นกเต็มกรง เมื่อหิวน้ำจึงไปที่อาศรมของพระฤาษีโพธิสัตว์ วางกรงนกไว้แล้วดื่มน้ำ ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจึงเอนกายผล็อยหลับไป นกกระทาเห็นนายพรานหลับแล้ว จึงถามความสงสัยของตนกับพระฤาษีว่า “พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าเป็นอยู่สบายได้บริโภคอาหารตามใจชอบ แต่อยู่ในระหว่างอันตราย อยากทราบว่า ทางเดินชีวิตของข้าพเจ้าเป็นอย่างไรหนอ” พระฤาษีตอบปัญหานกกระทาว่า “นกกระทาเอ้ย..ถ้าใจของเจ้าไม่ได้จงใจจะทำบาป บาปย่อมไม่แปดเปื้อนเจ้าผู้บริสุทธิ์ ใจไม่คิดจะทำบาปกรรมดอก”

นกกระทาถามต่ออีกว่า “พระคุณเจ้า นกกระทาจำนวนมากคือญาติของข้าพเจ้า นายพรานอาศัยข้าพเจ้าทำปาณาติบาตอยู่ ข้าพเจ้ารังเกียจเรื่องนี้มาก บาปกรรมจะมีถึงแก่ข้าพเจ้าไหมหนอ” พระฤาษีจึงตอบว่า “ถ้าใจของเจ้าไม่คิดประทุษร้าย กรรมชั่วที่นายพรานอาศัยเจ้ากระทำแล้ว ย่อมไม่ถูกต้องเจ้า บาปกรรมย่อมไม่แปดเปื้อนเจ้า เจ้าไม่มีความจงใจกระทำปาณาติบาต บาปกรรมจึงไม่มีแก่เจ้า” นกกระทาได้ฟังแล้วก็สบายใจนิ่งเงียบอยู่

ฝ่ายนายพรานตื่นนอนแล้วลุกขึ้นไหว้พระฤาษีแล้วถือกรงนกกลับบ้านไป ความซับซ้อนของกรรมแตกต่างกับความซับซ้อนของตัวหนังสือตรงที่ตัวหนังสือนั้น เมื่อเขียนทับกันมากๆ ก็ย่อมไม่มีทางรู้ว่าเขียนเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีอย่างไร แต่กรรมนั้น แม้ทำซับซ้อนมากเพียงไร ก็มีทางรู้ว่าทำกรรมดีไว้มากน้อยเพียงไรหรือกรรมไม่ดีไว้มากน้อยเพียงไร โดยมีผลที่ปรากฏขึ้นของกรรมนั้นเอง เป็นเครื่องช่วยแสดงให้เห็น อย่าเป็นผู้ปฏิเสธเรื่องกรรม กงกรรมกงเกวียน แม้แต่กิ่งไม้มันยังแสดงออก หนีไม่ได้ผลของกรรม เพื่อความไม่ประมาทจงอย่าปฏิเสธโดยไม่รู้จริง เพราะวันหนึ่งจะหนีไม่พันผลที่น่ากลัวนักของกรรม

เผยแพร่โดย

พเยาว์ โมทาน

รวบรวม เรียบเรียง บทความธรรมะ ประชาสัมพันธ์